ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง
ข้อที่ 1. ข้อใด
อ่าน ผิด อักขรวิธี
ก. รูปพรรณ
อ่านว่า รูป – พัน
ข. พรรณนา
อ่านว่า พัน – นะ – นา
ค. สรรพคุณ
อ่านว่า สับ – พะ – คุน
ง. กรรมาธิการ
อ่านว่า กำ -มา - ทิ – กาน
ข้อที่
2. ข้อใด
อ่าน ผิด อักขรวิธี
ก. อดิเรกลาภ
อ่านว่า อะ – ดิ – เหรก – กะ –
ลาบ
ข. กากบาท
อ่านว่า กา – กะ – บาด
ค. อมตะ
อ่านว่า อำ – มะ – ตะ
ง. สรณะ
อ่านว่า สะ – ระ – นะ
ข้อที่
3. ข้อใด
อ่าน ผิด อักขรวิธี
ก. กำราบ อ่านว่า
กำ – หราบ
ข. บำราศ อ่านว่า
บำ - หราด
ค. บำราบ อ่านว่า
บำ - หราบ
ง. ดำริ
อ่านว่า ดำ - หริ
ข้อที่
4. คำที่อ่านว่า
“ปลา – อิน- ซี” เขียนอย่างไร
ก. ปลาอินทรี
ข. ปลาอินทรีย์
ค. ปลาอินซี
ง. ปลาอินทร์ซี
ข้อที่
5. คำที่อ่านว่า
“จอ – ระ- เข้” เขียนอย่างไร
ก. จรเข้
ข. จอระเข้
ค. จระเข้
ง. จรเข่
ข้อที่
6. คำที่อ่านว่า
“จัก – กะ- จั่น” เขียนอย่างไร
ก. จักจั่น
ข. จักกะจั่น
ค. จั๊กกะจั่น
ง. จั๊กจั่น
ข้อที่
7. คำที่อ่านว่า
“ทด – สะ- กัน” เขียนอย่างไร
ก. ทศกรรณ
ข. ทศกัณฑ์
ค. ทศกัณห์
ง. ทศกัณฐ์
ข้อที่
8. คำที่อ่านว่า
“บิน – ทะ- บาด” เขียนอย่างไร
ก. บิณทบาต
ข. บิณฑบาต
ค. บิณฑบาตร
ง. บินฑบาตร์
|
เฉลย
ข้อที่ 1. ข้อใด อ่าน ผิด อักขรวิธี
ก. รูปพรรณ
อ่านว่า รูป – พัน
ข. พรรณนา
อ่านว่า พัน – นะ – นา
ค. สรรพคุณ
อ่านว่า สับ – พะ – คุน
ง. กรรมาธิการ
อ่านว่า กำ -มา - ทิ – กาน
|
วิเคราะห์
คำในคำตอบดังกล่าว
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
รูปพรรณ [รูบปะพัน] น.
ลักษณะ, รูปร่างและสี, เช่น
รูปพรรณวัวรูปพรรณควาย; เงินทองที่ทําเป็นเครื่องประดับ เช่น
เงินรูปพรรณทองรูปพรรณ.
พรรณนา [พันนะ] ก.
กล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา).
สรรพคุณ น.
คุณสมบัติของสิ่งที่เป็นยา, โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติเช่น
เขามีสรรพคุณเชื่อถือได้. (ส. สรฺว + คุณ).
กรรมาธิการ [กํา-] น.
บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ
พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา
แล้วรายงานต่อสภา
คณะกรรมาธิการมี
๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วนๆ
คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน
หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ.
ข้อ ก.
เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อที่ 2. ข้อใด อ่าน ผิด
อักขรวิธี
ก. อดิเรกลาภ
อ่านว่า อะ – ดิ – เหรก – กะ –
ลาบ
ข. กากบาท
อ่านว่า กา – กะ – บาด
ค. อมตะ
อ่านว่า อำ – มะ – ตะ
ง. สรณะ
อ่านว่า สะ – ระ – นะ
|
วิเคราะห์
คำในคำตอบดังกล่าว
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
อดิเรกลาภ [อะดิเหฺรกกะลาบ] น. อติเรกลาภ, ลาภพิเศษ. (ป.,
ส. อติเรกลาภ).
กากบาท
[กากะบาด] น. ชื่อเครื่องหมายอย่างตีนกา มีรูป + หรือ x ; ใช้ +
เป็นเครื่องหมายวรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา.
อมต, อมตะ [อะมะตะ, อะมะตะ] ว. ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. น.
พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).
สรณ, สรณะ [สะระนะ] น. ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. (ป.; ส. ศรณ).
ข้อ ค.
เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อที่ 3. ข้อใด อ่าน ผิด อักขรวิธี
ก. กำราบ
อ่านว่า กำ – หราบ
ข. บำราศ
อ่านว่า บำ - หราด
ค. บำราบ อ่านว่า
บำ - หราบ
ง. ดำริ
อ่านว่า ดำ - หริ
|
วิเคราะห์
คำในคำตอบดังกล่าว
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
กำราบ
[-หฺราบ] ก. ทําให้เข็ดหลาบ, ทําให้กลัว, ทําให้สิ้นพยศ, ทําให้สิ้นฤทธิ์.
บำราศ [บําราด] ก. หายไป, จากไป, พรากไป, ปราศจาก.
บำราบ [บําหฺราบ] ก. ปราบ, ทําให้ราบ, ทําให้กลัว.
ดำริ
[-หฺริ] ก. คิด, ไตร่ตรอง.
(แผลงมาจาก ตริ).
ข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อที่ 4. คำที่อ่านว่า “ปลา – อิน- ซี” เขียนอย่างไร
ก. ปลาอินทรี
ข. ปลาอินทรีย์
ค. ปลาอินซี
ง. ปลาอินทร์ซี
|
วิเคราะห์
คำที่อ่านว่า “อิน – ซี” ในพจนานุกรม ที่เกี่ยวข้องกับข้อสอบ
มีดังนี้
อินทรี ๑
[ซี] น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับเหยี่ยวขามีขนปกคลุม
กรงเล็บแข็งแรง ในประเทศไทยมีหลายชนิดเช่น อินทรีหัวนวล (Haliaeetus
leucoryphus) อินทรีดํา (Ictinaetus malayensis) อินทรีปีกลาย (Aquila clanga).
อินทรี ๒ [ซี] น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่หลายชนิดในหลายวงศ์
ลําตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางกิ่ว ปลายหางเป็นแฉกลึก อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวนํ้า เช่น
อินทรีบั้ง (Scomberomorus
commersoni) อินทรีจุด (S. guttatus) ในวงศ์ Scombridae.
อินทรีย, อินทรีย์ [ซียะ, ซี] น. ร่างกายและจิตใจ เช่น
สํารวมอินทรีย์; สติปัญญาเช่น อินทรีย์แก่กล้า; สิ่งมีชีวิต. (ป., ส. อินฺทฺริย).
ข้อสังเกต
“อินทรี” ไม่มี ย การันต์จะเป็นชื่อนก
ชื่อปลา ถ้ามี ย การันต์จะเกี่ยวกับคน
ข้อ ก.
เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ก. จรเข้
ข. จอระเข้
ค. จระเข้
ง. จรเข่
|
วิเคราะห์
ข้อ ค. เป็นคำตอบที่ถูก
ข้อที่ 6. คำที่อ่านว่า “จัก – กะ- จั่น” เขียนอย่างไร
ก. จักจั่น
ข. จักกะจั่น
ค. จั๊กกะจั่น
ง. จั๊กจั่น
|
วิเคราะห์
ข้อ ก. เป็นคำตอบที่ถูก
ข้อที่ 7. คำที่อ่านว่า “ทด – สะ- กัน” เขียนอย่างไร
ก. ทศกรรณ
ข. ทศกัณฑ์
ค. ทศกัณห์
ง. ทศกัณฐ์
|
วิเคราะห์
คำว่า “ทศกัณฐ์” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ทศกัณฐ์
น. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
ข้อ ง. เป็นคำตอบที่ถูก
เรามักจะจำกันได้ว่า
ทศกัณฐุ์มี 10 หน้า
โดยไม่รู้ว่าคำในภาษาบาลีแปลว่า “ผู้มีสิบคอ”
ข้อที่ 8. คำที่อ่านว่า “บิน – ทะ- บาด” เขียนอย่างไร
ก. บิณทบาต
ข. บิณฑบาต
ค. บิณฑบาตร
ง. บินฑบาตร์
|
วิเคราะห์
คำว่า “บิณฑบาต” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
บิณฑบาต
น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก.
กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง
เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).
ข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูก
คนจำนวนมาก
มักจะเลือก “บิณฑบาตร”
เป็นคำตอบที่ถูก เพราะ คำว่า “บาตร”
ที่จริงแล้วบิณฑบาต แปลว่า ก้อนข้าวที่ตก
อย่าเอาไปเกี่ยวพันกับ “บาตร”