บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการอ่านคำ ชุดที่ 2

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อใด อ่านอย่างอักษรควบแท้
ก.  พุทรา
ข.  นิทรา
ค.  จริง
ง.  สระ

ข้อที่  2.  วันนั้น “จันทร” มีดารากร เป็นบริวาร” คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่าอย่างไร
ก.  จัน
ข.  จัน – ทะ
ค.  จัน – ทะ – ระ
ง.  จัน – ทอน

ข้อที่  3.  “เขามีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งๆ” อ่านว่าอย่างไร
ก.  เขามีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งหนึ่ง
ข.  เขามีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งวันหนึ่ง
ค.  เขามีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งไปวันหนึ่ง
ง.  เขามีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งอยู่ไปวันหนึ่ง

ข้อที่  4.  ข้อใด อ่านผิดอักขรวิธี
ก.  ประวัติศาสตร์  อ่านว่า  ประ – หวัด – สาด
ข.  อุบัติเหตุ  อ่านว่า  อุ – บัด – เหตุ
ค.  สมานฉันท์  อ่านว่า  สะ – หมาน – น – ฉัน
ง.  สัปดาห์  อ่านว่า  สับ – ดา
จ.  ภูมิศาสตร์  อ่านว่า  พูม – มิ สาด

ข้อที่  5.  ข้อใด อ่านผิดอักขรวิธี
ก.  ชัยภูมิ  อ่านว่า  ชัย – ยะ พูม – มิ
ข.  กรณี  อ่านว่า  กะ - ระ – นี
ค.  เพชรบุรี  อ่านว่า  เพ็ด – ชะ – บุ – รี
ง.  บัณฑิต  อ่านว่า  บัน – ทิต
จ.  ชลบุรี  อ่านว่า  ชน – ละ - บุ – รี

ข้อที่  6.  ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก.  ผลิตผล  อ่านว่า  ผลิด – ผน
ข.  มกราคม  อ่านว่า  มะ – กะ – รา – คม
ค.  ภูมิลำเนา  อ่านว่า  พูม – ลำ – เนา
ง.  คมนาคม  อ่านว่า  คม – นา – คม
จ.  นามธรรม  อ่านว่า  นาม – ทำ

ข้อที่  7.  ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก.  ปรัชญา  อ่านว่า  ปรัด – ยา
ข.  ปริญญา  อ่านว่า  ปริน – ยา
ค.  คุณธรรม  อ่านว่า  คุน – ทำ
ง.  บุญบารมี  อ่านว่า  บุน – ยะ – บา – ระ – มี
จ.  คุณภาพ  อ่านว่า  คุน – ภาพ

เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อใด อ่านอย่างอักษรควบแท้
ก.  พุทรา
ข.  นิทรา
ค.  จริง
ง.  สระ

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.
คำว่า “นิทรา” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
นิทรา [นิดทฺรา] น. การหลับ, การนอนหลับ. ก. หลับ, นอน, เช่น ให้หาวนิทราเป็นพ้นไป. (อิเหนา). (ส.; ป. นิทฺทา).

ข้อที่  2.  วันนั้น “จันทร” มีดารากร เป็นบริวาร” คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่าอย่างไร
ก.  จัน
ข.  จัน – ทะ
ค.  จัน – ทะ – ระ
ง.  จัน – ทอน

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง. เป็นการอ่านตามคำบังคับของโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

ข้อที่  3.  “เขามีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งๆ” อ่านว่าอย่างไร
ก.  เขามีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งหนึ่ง
ข.  เขามีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งวันหนึ่ง
ค.  เขามีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งไปวันหนึ่ง
ง.  เขามีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งอยู่ไปวันหนึ่ง

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.  ไม้ยมกซ้ำคำว่า “วันหนึ่ง”

ข้อที่  4.  ข้อใด อ่านผิดอักขรวิธี
ก.  ประวัติศาสตร์  อ่านว่า  ประ – หวัด – สาด
ข.  อุบัติเหตุ  อ่านว่า  อุ – บัด – เหตุ
ค.  สมานฉันท์  อ่านว่า  สะ – หมาน – นะ – ฉัน
ง.  สัปดาห์  อ่านว่า  สับ – ดา
จ.  ภูมิศาสตร์  อ่านว่า  พูม – มิ สาด

วิเคราะห์

คำในคำตอบดังกล่าว พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้

ประวัติศาสตร์  [ปฺระหฺวัดติสาด, ปฺระหฺวัดสาด] น. วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน.
อุบัติ, อุบัติ   [อุบัด, อุบัดติ] น. การเกิดขึ้น, กําเนิด, การบังเกิด; รากเหง้า, เหตุ. ก. เกิด, เกิดขึ้น. (ป. อุปฺปตฺติ; ส. อุตฺปตฺติ).
สมานฉันท์  [สะมานะ, สะหฺมานนะ] น. ความพอใจร่วมกัน, ความเห็น พ้องกัน, เช่น มีความเห็นเป็นสมานฉันท์. (ป. สมาน + ฉนฺท).
สัปดาห์, สัปดาหะ  [สับดา, สับปะดา, สับดาหะ] น. รอบ ๗ วัน เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์, ระยะ ๗ วัน เช่น สัปดาห์แห่งการส่งเสริมพระพุทธศาสนาสัปดาห์แห่งการเขียนจดหมาย. (ส. สปฺตาห).
ภูมิศาสตร์    [พูมิ–] น. วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่าง ๆ ของโลก.
ข้อ จ. เป็นคำตอบที่ถูก คำอ่านที่ถูกต้องคือ “พู – มิ – สาด”

ข้อที่  5.  ข้อใด อ่านผิดอักขรวิธี
ก.  ชัยภูมิ  อ่านว่า  ชัย – ยะ พูม – มิ
ข.  กรณี  อ่านว่า  กะ - ระ – นี
ค.  เพชรบุรี  อ่านว่า  เพ็ด – ชะ – บุ – รี
ง.  บัณฑิต  อ่านว่า  บัน – ทิต
จ.  ชลบุรี  อ่านว่า  ชน – ละ - บุ – รี

วิเคราะห์

คำในคำตอบดังกล่าว พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้

ชัยภูมิ  [ไชยะพูม] น. ทําเลที่เหมาะ. (ป., ส.).
กรณี  [กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้.(ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทํา).
บัณฑิต [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่าบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดยกําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
สำหรับชื่อจังหวัดนั้น บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น. กล่าวไว้ ดังนี้

การอ่านชื่อจังหวัดในประเทศไทยที่ลงท้ายด้วยคำว่า “บุรี”
ชื่อจังหวัดในประเทศไทยที่ลงท้ายด้วยคำว่า บุรี  ไม่ต้องอ่านเชื่อมแบบคำสมาส มี ๓ จังหวัด ได้แก่
ชลบุรี (อ่านว่า ชน-บุ-รี)
ลพบุรี (อ่านว่า ลบ-บุ-รี) และ
สุพรรณบุรี (อ่านว่า สุ-พัน-บุ-รี)
เช่นเดียวกับชื่อเขตธนบุรี (อ่านว่า ทน-บุ-รี) และชื่ออำเภออื่นๆ เช่น ครบุรี (อ่านว่า คอน-บุ-รี)  ชุมพลบุรี (อ่านว่า ชุม-พน-บุ-รี)  พรหมบุรี (อ่านว่า พฺรม-บุ-รี) ปราณบุรี (อ่านว่า ปฺราน-บุ-รี) ก็ไม่ต้องออกเสียงเชื่อม
ส่วนจังหวัดที่อ่านได้ ๒ แบบ คือ ไม่ออกเสียงเชื่อมก็ได้ หรือออกเสียงเชื่อมก็ได้ มี ๔ จังหวัด ได้แก่
จังหวัดนนทบุรี (อ่านว่า นน-บุ-รี หรือ นน-ทะ-บุ-รี) 
จันทบุรี (อ่านว่า จัน-บุ-รี หรือ จัน-ทะ-บุ-รี)
เพชรบุรี (อ่านว่า เพ็ด-บุ-รี หรือ เพ็ด-ชะ-บุ-รี) และ
ราชบุรี (อ่านว่า ราด-บุ-รี หรือ ราด-ชะ-บุ-รี).

ข้อ จ. เป็นคำตอบที่ถูก คำอ่านที่ถูกต้องคือ “ชน-บุ-รี”

ข้อที่  6.  ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก.  ผลิตผล  อ่านว่า  ผลิด – ผน
ข.  มกราคม  อ่านว่า  มะ – กะ – รา – คม
ค.  ภูมิลำเนา  อ่านว่า  พูม – ลำ – เนา
ง.  คมนาคม  อ่านว่า  คม – นา – คม
จ.  นามธรรม  อ่านว่า  นาม – ทำ

วิเคราะห์

คำในคำตอบดังกล่าว พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้

ผลิต, ผลิต  [ผะหฺลิด, ผะหฺลิดตะ] ก. ทําให้เกิดมีขึ้นตามที่ต้องการด้วยอาศัยแรงงานหรือเครื่องจักรเป็นต้น เช่น ผลิตข้าว ผลิตรถยนต์ ผลิตครูผลิตบัณฑิต. (ป.).
ผลิตผล  น. ผลที่ทําขึ้น, ผลที่ได้จากการผลิตด้วยอาศัยแรงหรือเครื่องจักรเป็นต้น.
มกราคม  [มะกะรา-, มกกะรา-] น. ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป. มกร + อาคม).
ภูมิลำเนา  [พูม–, พูมิ–] (กฎ) น. ถิ่นที่อยู่อันเป็นแหล่งสําคัญ.
คมนาคม  [คะมะนาคม, คมมะนาคม] น. การติดต่อไปมาถึงกัน, การสื่อสาร; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการคมนาคม การขนส่งการพาณิชยนาวีการสื่อสาร และการอุตุนิยมวิทยา. (ป. มน +อาคม).
นามธรรม [นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
ข้อนี้ มีคำตอบที่ถูก 2 ข้อ คือ ข้อ ข. กับ ข้อ ค.

ข้อที่  7.  ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก.  ปรัชญา  อ่านว่า  ปรัด – ยา
ข.  ปริญญา  อ่านว่า  ปริน – ยา
ค.  คุณธรรม  อ่านว่า  คุน – ทำ
ง.  บุญบารมี  อ่านว่า  บุน – ยะ – บา – ระ – มี
จ.  คุณภาพ  อ่านว่า  คุน – ภาพ

วิเคราะห์

คำในคำตอบดังกล่าว พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้

ปรัชญา  [ปฺรัดยา, ปฺรัดชะยา] น. วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง. (ส.).
ปริญญา [ปะรินยา] น. ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้นมหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้, ถ้าประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่าปริญญากิตติมศักดิ์. (ป.; ส. ปริชฺ?า).
คุณธรรม  [คุนนะ-] น. สภาพคุณงามความดี.
บุญ, บุญ- [บุน, บุนยะ-] น. การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี,คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ.(ป. ปุญฺ?; ส. ปุณฺย).
คุณภาพ       [คุนนะ-] น. ลักษณะที่ดีเด่นของบุคคลหรือสิ่งของ.

คำตอบที่ถูกต้องมี 2 ข้อ คือ ข้อ ก. กับ ข้อ ง.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น