ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง
ข้อที่ 1. ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก. กรรมาธิการ อ่านว่า
กำ – มา – ทิ – กาน
ข. ทุพภิกขภัย อ่านว่า
ทุ – พะ – พิก – ขะ – ไพ
ค. เทศบาล อ่านว่า
เท – สะ – บาน
ง. คุณภาพ
อ่านว่า คุณ – พาบ
จ. เทศาภิบาล
อ่านว่า เทด – สา – พิ – บาน
ข้อที่ 2. ข้อใด
อ่านถูกอักขรวิธี
ก. เกียรติประวัติ อ่านว่า
เกียด – ประ – หวัด
ข. ตุ๊กตา อ่านว่า
ตุ๊ก – ตา
ค. ชลประทาน อ่านว่า
ชน – ละ – ประ – ทาน
ง. คุณวุฒิ อ่านว่า
คุน – วุด
จ.
ประกาศนียบัตร อ่านว่า ประ – กาด – สะ – นี – บัด
ข้อที่ 3. ข้อใด
อ่านผิดอักขรวิธี
ก. ธนบัตร อ่านว่า
ทน – นะ – บัด
ข. ปรโลก อ่านว่า
ปอ – ระ – โลก
ค. อภัยโทษ อ่านว่า
อะ – พัย – ยะ – โทด
ง. อรหันต์ อ่านว่า
ออ – ระ – หัน
จ.
คุณโทษ อ่านว่า คุน – นะ – โทด
ข้อที่ 4. ข้อใด
อ่านถูกอักขรวิธี
ก. รสนิยม อ่านว่า
รด – สะ – นิ – ยม
ข. รูปธรรม อ่านว่า
รูป – ปะ – ทำ – มะ
ค. รูปพรรณ อ่านว่า
รูบ – พัน
ง. ถาวรวัตถุ อ่านว่า
ถา – วะ – ระ – วัด – ถุ
จ.
นามธรรม อ่านว่า นาม – ทำ
ข้อที่ 5. ข้อใด
อ่านถูกอักขรวิธี
ก. มาตรฐาน อ่านว่า
มาด – ตระ – ถาน
ข. ภูมิภาค อ่านว่า
พูม – พาก
ค. กรกฎาคม อ่านว่า
กอ – รัก – กะ – ดา – คม
ง. ประกาศนียบัตร อ่านว่า
ประ – กาด – นี – บัด
จ.
พิพิธภัณฑ์ อ่านว่า พิ – พิด – พัน
ข้อที่ 6. ข้อใด
อ่านถูกอักขรวิธี
ก. กิจการ อ่านว่า
กิด – กาน
ข. อาชญากร อ่านว่า
อาด – ยา – กอน
ค. อุณหภูมิ อ่านว่า
อุน – นะ – หะ – พูม
ง. พลความ
อ่านว่า พน – ความ
จ.
อุตสาหกรรม อ่านว่า อุด – สา – กำ
ข้อที่ 7. ข้อใด
อ่านถูกอักขรวิธี
ก. ลักเพศ อ่านว่า
ลัก – เพด
ข. จันทรเกษม อ่านว่า
จัน – ทะ – กะ – เสม
ค. สัมปทานบัตร อ่านว่า
สำ – ปะ – ทาน – นะ – บัด
ง. เสวก
อ่านว่า เส – วะ –
กะ
จ.
สัปเหร่อ อ่านว่า สับ – เหร่อ
เฉลย
ข้อที่ 1. ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก. กรรมาธิการ อ่านว่า
กำ – มา – ทิ – กาน
ข. ทุพภิกขภัย อ่านว่า
ทุ – พะ – พิก – ขะ – ไพ
ค. เทศบาล อ่านว่า
เท – สะ – บาน
ง. คุณภาพ
อ่านว่า คุณ – พาบ
จ. เทศาภิบาล
อ่านว่า เทด – สา – พิ – บาน
วิเคราะห์
คำในคำตอบดังกล่าว
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
กรรมาธิการ [กํา-] น.
บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ
พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา
แล้วรายงานต่อสภา
คณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ
คณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วนๆ
คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน
หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ.
ทุพภิกขภัย [ทุบพิกขะไพ] น.
ภัยอันเกิดจากข้าวยากหมากแพงหรือการขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง. (ป.).
เทศ, เทศ-,
เทศะ [เทด, เทดสะ-, เทสะ] ว. ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ
ม้าเทศ. น. ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
เทศบาล (กฎ) น.
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นแบบหนึ่ง.
คุณภาพ [คุนนะ-] น.
ลักษณะที่ดีเด่นของบุคคลหรือสิ่งของ.
เทศาภิบาล (เลิก) น.
ตําแหน่งผู้สําเร็จราชการมณฑลในสมัยหนึ่งต่อมาเปลี่ยนเรียกว่า สมุหเทศาภิบาล.
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ก. คำอ่านที่ถูกต้องของข้ออื่นๆ
เป็นดังนี้
ข. ทุพภิกขภัย
อ่านว่า ทุบ – พิก – ขะ – ไพ
ค. เทศบาล
อ่านว่า เทด – สะ – บาน
ง. คุณภาพ อ่านว่า คุน – นะ – พาบ
จ. เทศาภิบาล อ่านว่า
เท – สา – พิ – บาน
ข้อที่ 2. ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก. เกียรติประวัติ อ่านว่า
เกียด – ประ – หวัด
ข. ตุ๊กตา
อ่านว่า ตุ๊ก – ตา
ค. ชลประทาน
อ่านว่า ชน – ละ – ประ – ทาน
ง. คุณวุฒิ
อ่านว่า คุน – วุด
จ. ประกาศนียบัตร
อ่านว่า ประ – กาด – สะ – นี – บัด
วิเคราะห์
คำในคำตอบดังกล่าว
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
เกียรติประวัติ [เกียดติปฺระหฺวัด, เกียดปฺระหฺวัด] น.
ประวัติที่ได้รับความสรรเสริญ, ประวัติที่เลื่องลือ.
ตุ๊กตา [ตุ๊กกะ–] น.
ของเล่นของเด็กซึ่งทําเป็นรูปคนหรือสัตว์เป็นต้น มักมีขนาดเล็กกว่าตัวจริง, ลักษณนามว่า ตัว; เงาที่ปรากฏเป็นรูปคนเล็กๆ เป็นต้น
ในแววตา; ที่รับเพลาและข้อเสือเครื่องจักรเพื่อให้เที่ยง; ชื่อเสาที่ยันขื่อคัด; ตัวอย่างที่สมมุติขึ้นมาประกอบคําอธิบายหรือวินิจฉัยเป็นต้น
เช่น ตั้งตุ๊กตามาดู.
ชลประทาน
[ชนละ, ชน] น.
การทดนํ้าและระบายนํ้าเพื่อการเพาะปลูกเป็นต้น.
คุณวุฒิ
[คุนนะวุดทิ, คุนนะวุด] น.
ความรู้ความสามารถของบุคคล, ระดับการศึกษา, เช่น เขามีคุณวุฒิเหมาะจะเป็นครู.
ประกาศนียบัตร [ปฺระกาสะนียะบัด, ปฺระกาดสะนียะบัด] น.
เอกสารแสดงคุณวุฒิตามปรกติตํ่ากว่าระดับอุดมศึกษา.
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ก. และ ข้อ ค. คำอ่านที่ถูกต้องของข้ออื่นๆ เป็นดังนี้
ข. ตุ๊กตา
อ่านว่า ตุ๊ก – กะ – ตา
ง. คุณวุฒิ
อ่านว่า คุน – นะ – วุด – ทิ หรือ คุน
– นะ – วุด
จ. ประกาศนียบัตร
อ่านว่า ประ – กา – สะ – นียะ – บัด
หรือ ประ – กาด – สะ – นี – ยะ – บัด
ข้อที่ 3. ข้อใด อ่านผิดอักขรวิธี
ก. ธนบัตร
อ่านว่า ทน – นะ – บัด
ข. ปรโลก
อ่านว่า ปอ – ระ – โลก
ค. อภัยโทษ
อ่านว่า อะ – พัย – ยะ – โทด
ง. อรหันต์
อ่านว่า ออ – ระ – หัน
จ. คุณโทษ
อ่านว่า คุน – นะ – โทด
วิเคราะห์
คำในคำตอบดังกล่าว
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ธนบัตร
[ทะนะบัด] (กฎ) น. บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา
ซึ่งใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยไม่จํากัดจํานวน. (ส. ธน + ปตฺร).
ปรโลก [ปะระ-, ปอระ-] น. โลกหน้า.
อภัยโทษ [อะไพยะโทด] (กฎ) ก.
ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.
อรหันต, อรหันต์ [อะระหันตะ, ออระหันตะ, อะระหัน, ออระหัน] น.
ชื่อพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหาหรือ อรหัง ก็มี
แต่ถ้าใช้เป็นคําวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).
คุณ ๑, คุณ- [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้นๆ; ความเกื้อกูลเช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง
เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป; (ไว) คําแต่งชื่อ. ส.
คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม
ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
คุณค่า [คุนค่า, คุนนะค่า] น.
สิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง.
คำว่า “คุณโทษ”
ไม่มีในพจนานุกรม คำอ่านของ “คุณค่า” เอามาเป็นรูปแบบในการอ่านได้
ข้อ ก. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
คำอ่านที่ถูกต้อง ควรอ่านว่า “ทะ – นะ – บัด”
ข้อที่ 4. ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก. รสนิยม
อ่านว่า รด – สะ – นิ – ยม
ข. รูปธรรม
อ่านว่า รูป – ปะ – ทำ – มะ
ค. รูปพรรณ
อ่านว่า รูบ – พัน
ง. ถาวรวัตถุ
อ่านว่า ถา – วะ – ระ – วัด – ถุ
จ. นามธรรม
อ่านว่า นาม – ทำ
วิเคราะห์
คำในคำตอบดังกล่าว พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
รสนิยม
[รดสะนิยม, รดนิยม] น. ความนิยมชมชอบ, ความพอใจ, เช่น เขามีรสนิยมในการแต่งตัวดี.
รูปธรรม [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น
กาย อันได้แก่ รูปเสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม
คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น,
สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น.
(ป.).
รูปพรรณ
[รูบปะพัน] น. ลักษณะ, รูปร่างและสี, เช่น
รูปพรรณวัวรูปพรรณควาย; เงินทองที่ทําเป็นเครื่องประดับ เช่น
เงินรูปพรรณทองรูปพรรณ.
ถาวรวัตถุ
[ถาวอระวัดถุ, ถาวอนวัดถุ] น. สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อให้มั่นคงยั่งยืนเช่น โบสถ์ วิหาร
ศาลาการเปรียญ. (ป.).
นามธรรม
[นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
ข้อ ก. เป็นคำตอบที่ถูก คำอ่านที่ถูกต้องของข้ออื่นๆ
เป็นดังนี้
ข. รูปธรรม
อ่านว่า รูบ – ปะ – ทำ
ค. รูปพรรณ
อ่านว่า รูบ – ปะ – พัน
ง. ถาวรวัตถุ
อ่านว่า ถา – วอ – ระ – วัด – ถุ หรือ
ถา – วอน – วัด – ถุ
จ. นามธรรม
อ่านว่า นาม – มะ – ทำ
ข้อที่ 5. ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก. มาตรฐาน
อ่านว่า มาด – ตระ – ถาน
ข. ภูมิภาค
อ่านว่า พูม – พาก
ค. กรกฎาคม
อ่านว่า กอ – รัก – กะ – ดา – คม
ง. ประกาศนียบัตร
อ่านว่า ประ – กาด – นี – บัด
จ. พิพิธภัณฑ์ อ่านว่า พิ – พิด – พัน
วิเคราะห์
คำในคำตอบดังกล่าว พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
มาตรฐาน
[มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไปเช่น
เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น
มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน.
ภูมิภาค
[พูมมิ–, พูมิ–] น. หัวเมือง; (ภูมิ)
อาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่างเช่นลักษณะทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม
ทางการเมืองคล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกันได้ และแตกต่างกับบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ.
กรกฎาคม
[กะระกะ-, กะรักกะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑
วัน. (ส. กรฺกฏ = ปู + อาคม = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ); (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
ประกาศนียบัตร
[ปฺระกาสะนียะบัด, ปฺระกาดสะนียะบัด] น. เอกสารแสดงคุณวุฒิตามปรกติตํ่ากว่าระดับอุดมศึกษา.
พิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑสถาน
[พิพิดทะพัน, พันทะสะถาน] น. สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่างๆ
ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ.
ข้อ ก. เป็นคำตอบที่ถูก คำอ่านที่ถูกต้องของข้ออื่นๆ
เป็นดังนี้
ข. ภูมิภาค
อ่านว่า พูม – มิ – พาก หรือ พู – มิ – ภาค
ค. กรกฎาคม
อ่านว่า กะ – ระ – กะ – ดา – คม หรือ
กะ – รัก – กะ – ดา – คม
ง. ประกาศนียบัตร
อ่านว่า ประ – กา – สะ – นี – ยะ –
บัด หรือ ประ – กาด – สะ – นี – ยะ – บัด
จ. พิพิธภัณฑ์ อ่านว่า พิ – พิด – ทะ – พัน
ข้อที่ 6. ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก. กิจการ
อ่านว่า กิด – กาน
ข. อาชญากร
อ่านว่า อาด – ยา – กอน
ค. อุณหภูมิ
อ่านว่า อุน – นะ – หะ – พูม
ง. พลความ อ่านว่า พน – ความ
จ. อุตสาหกรรม
อ่านว่า อุด – สา – กำ
วิเคราะห์
คำในคำตอบดังกล่าว พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
กิจ, กิจ -
[กิด, กิดจะ-] น. ธุระ, งาน. (ป. กิจฺจ).
กิจการ
น. การงานที่ประกอบ, ธุระ.
อาชญากร
[อาดยากอน, อาดชะยากอน] น. ผู้ก่ออาชญากรรม, ผู้กระทําความผิดที่เป็นคดีอาญา.
อุณหภูมิ
[อุนหะพูม] น. ระดับความสูงต่ำของความร้อน
นิยมวัดได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์.
พลความ
[พนละ] น. ข้อความที่ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่อง, ตรงข้ามกับ ใจความ.
อุตสาหกรรม
[อุดสาหะกํา] น.
กิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อผลิตสิ่งของหรือจัดให้มีบริการ เช่น
อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรม
การมาตรฐานเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม และทรัพยากรธรณี.
คำตอบที่ถูก คือ ข้อ ข. คำอ่านที่ถูกต้องของข้ออื่นๆ
เป็นดังนี้
ก. กิจการ
อ่านว่า กิด – จะ – กาน
ค. อุณหภูมิ
อ่านว่า อุน – หะ – พูม
ง. พลความ อ่านว่า พน – ละ – ความ
จ. อุตสาหกรรม
อ่านว่า อุด – สา – หะ – กำ
ข้อที่ 7. ข้อใด อ่านถูกอักขรวิธี
ก. ลักเพศ
อ่านว่า ลัก – เพด
ข. จันทรเกษม
อ่านว่า จัน – ทะ – กะ – เสม
ค. สัมปทานบัตร
อ่านว่า สำ – ปะ – ทาน – นะ – บัด
ง. เสวก อ่านว่า เส – วะ – กะ
จ. สัปเหร่อ
อ่านว่า สับ – เหร่อ
วิเคราะห์
คำในคำตอบดังกล่าว พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ลักเพศ [ลักกะเพด] ก.
ทําหรือแต่งตัวปลอมแปลงให้ผิดไปจากเพศของตน เช่นคฤหัสถ์แต่งตัวปลอมเพศเป็นสมณะ
ผู้ชายแต่งตัวเป็นผู้หญิง; (ปาก) ทํานอกลู่นอกทาง เช่นดื่มนํ้าทางหูถ้วย.
จันทร-, จันทร์
[จันทฺระ- ในกลอนบางทีอ่านเป็น จันทอน, จัน] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า
พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒;
ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).
สัมปทาน
[สําปะทาน] (กฎ) น. การที่รัฐอนุญาตให้เอกชนจัดทําบริการสาธารณะหรือจัดทําประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ
ภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่รัฐกําหนด เช่น สัมปทานการเดินรถประจําทาง สัมปทานทําไม้ในป่าสัมปทาน.
(ป.).
เสวก
[–วก] น. ข้าราชการในราชสํานัก. (ป.; ส. เสวก = คนใช้).
สัปเหร่อ [สับปะเหฺร่อ] น. ผู้ที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการศพตั้งแต่ทำพิธีมัดตราสังจนกระทั่งนำศพไปฝังหรือเผา.
สำหรับคำว่า “เสวก” บทวิทยุรายการ "รู้ รัก
ภาษาไทย"
ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น. กล่าวไว้ ดังนี้
เสวก (อ่านว่า
เส-วก) หมายถึง ข้าราชการในราชสำนัก เช่น คุณพ่อเขาเป็นเสวกโท.
เมื่อคำนำว่า เสวก มาเข้าสมาสกับคำว่า อมาตย์
(อ่านว่า อะ-หฺมาด) มีการสนธิเสียงสระของคำหน้ากับคำหลัง เป็น เสวกามาตย์ (อ่านว่า
เส-วะ-กา-มาด) หมายถึง เสวก และ อำมาตย์
คำว่า เสวก มาจากคำกริยาภาษาบาลีว่า เสว
(อ่านว่า เส-วะ) แปลว่า เสพ คบหา. เสวก
เป็นคำนาม แปลตามรูปศัพท์ว่า ผู้เสพ หรือ ผู้คบหา ถ้าใช้เป็นกริยา จะใช้รูป เสวนา
แปลว่า คบ คบหา เช่นคนแบบนี้ฉันไม่อยากจะเสวนาด้วย.
นอกจากนี้ เสวนา ยังมีความหมายใหม่ว่า
การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เช่น
สมาคมข้าราชการพลเรือนจัดเสวนาเรื่องศักดิ์ศรีข้าราชการไทย.
คำตอบที่ถูก คือ ข้อ ค. คำอ่านที่ถูกต้องของข้ออื่นๆ
เป็นดังนี้
ก. ลักเพศ
อ่านว่า ลัก – กะ – เพด
ข. จันทรเกษม
อ่านว่า จัน – ทระ – กะ – เสม
ง. เสวก อ่านว่า เส – วก
จ. สัปเหร่อ
อ่านว่า สับ – ปะ – เหร่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น